เข้าใช้จาก IP : 3.148.250.255 | |
Online อยู่ : 1 | |
วันนี้ | 27 |
เมื่อวานนี้ | 24 |
เดือนนี้ | 529 |
ปีนี้ | 1,516 |
รวมทั้งหมด | 1,516 |
Record: 60 (24.02.2025) ( Counter 29-04-2025 ) |
ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ที่ตั้งของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านวังนกแอ่น ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65130 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
1.2 การติดต่อ
โทรศัพท์ 088-1611533
1.3 ระดับชั้นที่เปิดสอน
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1.4 ปรัชญาโรงเรียน
กยิราเจ กยิราเถนํ ทำอะไร ทำจริง
1.5 อัตลักษณ์โรงเรียน
เมล็ดพันธุ์เด็กดี
1.6 เอกลักษณ์โรงเรียน
จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี
1.7 คติพจน์
จริยธรรมสร้างคน การฝึกฝนสร้างปัญญา
1.8 คำขวัญ
สุขภาพดี มีคุณธรรม นำวินัย ใฝ่การศึกษา
1.9 วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นพัฒนาโรงเรียนให้มีระบบ บริหารจัดการที่มีคุณภาพ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม
นำความรู้ เชิดชูความเป็นไทยได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และการมีส่านร่วมของชุมชน
1.10 อักษรย่อโรงเรียน
วอ.
1.11 ระยะทางจากโรงเรียน ถึงเขตพื้นที่ฯ 19 กม.
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอ 13 กม.
1.12 สีประจำโรงเรียน
“ เหลือง - ดำ ”
สีเหลือง หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ซึ่งเปรียบได้จาก การศึกษาหาความรู้ของนักเรียน
สีดำ หมายถึง ความเข้มแข็ง อดทน ซึ่งเปรียบได้กับสุขภาพอนามัย และจิตใจของนักเรียน
เหลือง – ดำ หมายถึง สุขภาพจิตที่ดี สุขภาพกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงประกอบด้วย ความมานะ พยายาม ที่จะส่งผลถึงความสำเร็จทุก ๆ ด้าน
1.13 สัญลักษณ์ของโรงเรียน
1.14 ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านวังนกแอ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ ๖๕๑๓๐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับอนุมัติจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๙ โดยอำเภอวังทองโดยนายเหล พลารักษ์ นายอำเภอขณะนั้น อาศัยศาลาวัดบ้านวังนกแอ่นเป็นสถานที่เรียน และแต่งตั้ง นายเต็ม ทองไหลมา เป็นครูใหญ่ และเป็นครูคนเดียวที่จัดการเรียนการสอนในขณะนั้น
พ.ศ. ๒๔๘๘ ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดหาที่เป็นของโรงเรียนด้วยการจับจอง และก่อสร้างอาคารเรียน ชั่วคราว ๑ หลัง และขอรื้อถอนแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ฉ จำนวน ๒ ห้องเรียน ซึ่งก่อสร้างได้เพียงโครงหลังคา และมุงสังกะสี กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับงบประมาณเพิ่มเติม ๒๐,๐๐๐ บาท จึงได้จัดทำพื้นไม้และบันได แต่ไม่มีฝา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณต่อเติมอีก ๓ ห้องเรียน แต่ไม่มีฝ้า ไม่มีฝากั้นห้อง จนถึงปี ๒๕๔๐ โรงเรียนได้รับงบปรับปรุงโรงเรียนจึงได้ดำเนินการกั้นฝาห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๒๖ โรงเรียนจัดหางบประมาณติดตั้งระบบไฟฟ้าภายใน จำนวน ๗,๕๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อสร้างศาลพระภูมิ ๔,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๒๙ จัดสร้างซุ้มพระพุทธรูปประจำโรงเรียนทรงตรีมุข เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช ๒๐๒ / ๑๒๐ ตรม. ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช ๑๐๒/๓ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะครู และคณะกรรมการศึกษา จัดหาเงินซื้อสนามเด็กเล่น ๑ ชุด เป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน ๘๐,๙๐๐ บาท ได้ปรับปรุงฝาอาคารเรียน ป.๑ ฉ ซ่อมแซมหลังคาสังกะสีที่ชำรุด บานประตู หน้าต่างที่ชำรุดจัดทำประตูเหล็กม้วนอาคารอเนกประสงค์ ๒ ด้าน ทาสีภายนอกอาคารทุกหลัง ทั้งนี้โดยแรงงานสมทบจากคณะกรรมศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับงบประมาณในความเห็นชอบของ ส.ส.จุติ ไกรฤกษ์ ก่อสร้างโรงอาหารขนาด ๘ X ๑๖ เมตร ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท คณะครู คณะกรรมการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนจัดหาเงินทำโต๊ะม้านั่งรับประทานอาหาร ขนาด ๖ ที่นั่ง ๒๐ ชุด เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท คุณทองหยด และคุณประนอม สุภาพ จัดหาพัดลมเพดาน ๘ ชุด เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท คณะครูบริจาคเงินติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอาคารโรงอาหาร ๕,๐๐๐ บาท และจัดหาเงินซื้อเครื่องตัดหญ้า ๑ เครื่อง เป็นเงิน ๑๒,๙๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๑ โรงเรียนจัดหาเงินทำประตูเหล็กเข้า – ออกโรงเรียน ๒ ด้าน เป็นเงิน ๒๖,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๔ โรงเรียนจัดทำป้ายโรงเรียนแบบคอนกรีต ปูหินแกรนิต แกะตัวหนังสือสีทอง โดยได้รับประมาณสนับสนุนจาก ๔๙,๐๐๐ บาท จาก นางพรชนิตว์ เชื้อบุญจันทร์ พร้อมครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้จัดสร้างรั้วคอนกรีตต่อจากป้ายโรงเรียน จำนวน ๗ ช่อง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากนางลูกจันทร์ แย้มศิริ เป็นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้จัดสร้างห้องสมุดโรงเรียน จำนวน ๑ ห้อง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก พ.ต.อ.(พิเศษ) สมศักดิ์ สุวรรณเตมีย์ เป็นเงิน ๑๓๐,๐๐๐ บาท (ติดต่อประสานโดย จสอ.สะสม ทองบำรุง) และอาจารย์บุญเทียม แสงศิริ บริจาคตู้หนังสือ ๒ ตู้ชั้นวางหนังสือ ๑ ชุด เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท (ติดต่อประสานโดยผอ.มรรค กันมา)
พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงห้องส้วมนักเรียน ห้องเรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากผู้ปกครองนักเรียน ดอกผลกองทุนหมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนกระเบื้องปูพื้นจาก คุณพรทิพย์ ทองไหลมา คุณวิภา เทพกรรมกร (ติดต่อประสานโดย จสอ.สะสม ทองบำรุง ) ได้รับงบประมาณทาสีรั้วโรงเรียนจากคุณพรชนิตว์ เชื้อบุญจันทร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ โรงเรียนได้จัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษาได้รับงบประมาณ จำนวน ๑๓๔,๙๘๔ บาท ในการก่อสร้างห้องครัวต่อเติมโรงอาหาร จำนวน ๑ ห้อง และปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๙ โรงเรียนได้รับบริจาคงบประมาณจัดสร้างห้องส้วมโรงเรียนจำนวน ๒ ห้อง จาก นางอุษาห์ อินอภัยพงศ์ พร้อมลูกหลาน เป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ โรงเรียนได้รับบริจาคกระเบื้องปูพื้นจำนวน ๓๖๐ ตรม. จาก คุณวิภา เทพกรรมกร จ.เชียงราย (ติดต่อประสานโดย จสอ.สะสม ทองบำรุง)
พ.ศ. ๒๕๕๐ คุณศรินยา แสนประสิทธิ์ ได้จัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษา จัดหางบประมาณปูกระเบื้องอาคารอเนกประสงค์ ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน ๑๒,๓๓๑ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๐ ด.ต.สหัส แดงขาวเขียว ได้จัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษา จัดหางบประมาณปูกระเบื้องหน้าอาคารเรียน สปช. ๑๐๒/๓ ปูถนนคอนกรีตไปห้องส้วม จัดทำที่แปรงฟันนักเรียน และบ่อปุ๋ยหมักให้กับโรงเรียน เป็นเงิน ๔๘,๖๕๓ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้ดำเนินการในการปรับปรุงศาลพระภูมิ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน เป็นเงิน ๑๔,๓๗๑ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๑ โรงเรียนได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารดนตรี จำนวน ๑ หลัง โดยได้รับงบประมาณจากร้านไพโรจน์โลหะกิจ เป็นวัสดุการก่อสร้าง และงบประมาณ สมทบ จากผู้มีจิตศรัทธา ชาวบ้านบ้านวังนกแอ่น และ คณะครู ในการทอดผ้าป่าเพื่อการกุศล เป็นเงิน ๑๕๐,๔๗๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงเรียนได้งบสนับสนุนจากดอกผลกองทุนเงินล้านของหมู่บ้านจำนวน ๙,๕๐๐ บาทเทพื้นคอนกรีตบริเวณซุ้มกระดังงา
พ.ศ. ๒๕๕๘ โรงเรียนได้รับงบจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาทปรับเปลี่ยนบันไดอาคารเรียน ป.๑ ฉ. เป็นบันไดคอนกรีตปูกระเบื้อง ๒ ข้างและปูพื้นกระเบื้องบริเวณซุ้มกระดังงาถึงบริเวณหน้าห้องส้วม
1.15 แผนที่ตั้งโรงเรียน
1.14 สภาพชุมชนโดยรอบ
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง กึ่งชนบท มีถนนสี่เลนสายหลัก พิษณุโลก - หล่มสัก โดยมีเส้นทางเข้าหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านหน้าหมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 462 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ วัด สถานธรรมจี้กง สวนผลไม้ ประกอบด้วย เงาะ มังคุด ทุเรียน ส้มโอ
1.15 อาชีพของประชากรในเขตบริการ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกมันสำปะหลัง ทำสวนผลไม้ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป
1.16 ด้านเศรษฐกิจ ประชากรมีรายได้ ต่อปีประมาณ 60,000 บาท ต่อคน/ปี และมีบางครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ย 24,000 บาท ต่อปี
1.17 ด้านสังคม สังคมส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ และอาศัยอยู่โดยลำพัง
1.18 การคมนาคม
- มีรถประจำทาง ผ่านถนนสายหลัก พิษณุโลก - หล่มสัก
- ถนนภายในหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต ไม่มีรถประจำทางผ่าน
1.19 สาธารณูปโภคและปัจจัยพื้นฐาน
- ไม่มีบ้านพักที่ทางราชการจัดหาให้
- มีโทรศัพท์
- มีน้ำประปา
- ไฟฟ้า
1.20 อาคารเรียน และอาคารประกอบ
- อาคารเรียน แบบ ป.๑ฉ จำนวน ๑ หลัง ๕ ห้องเรียน
- อาคารเรียน แบบ สปช. ๑๐๒/๑ จำนวน ๑ หลัง ๓ ห้องเรียน
- อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๒/๑๒๐ จำนวน ๑ หลัง
- โรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง
- อาคารดนตรี จำนวน ๑ หลัง
- ส้วม จำนวน ๓ หลัง
1.21 อื่น ๆ
- ถังเก็บน้ำฝน จำนวน ๖ ถัง
1.22 แหล่งที่มาของงบประมาณ
โรงเรียนมีงบประมาณรายได้ในการดำเนินงานจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากภาครัฐ และในบางโอกาสได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน จากภาคเอกชนและอื่นๆ
1.23 ขนบ ธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ขนบ ธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นแบบไทยภาคกลาง ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ และปฏิบัติธรรมในเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ